พฤติกรรมการแย่งของเล่นเด็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

0 Comments

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนต้องการจะให้ลูกน้อยของตัวเอง รู้จักที่จะแบ่งปันสิ่งของให้กับคนอื่น ๆ แต่ด้วยช่วงวัยต่าง ๆ ก็ที่ยากจะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์แย่งของเล่นเด็กได้ ดังนั้นเพื่อให้ลูกรักของคุณเกิดการเรียนรู้ และมีไมตรีจิตต่อเด็กและคนอื่น ๆ ก็ต้องรู้จักที่จะ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ซึ่งจะมีวิธีการเป็นอย่างไร ไปติดตามพร้อม ๆ กับเราได้เลย 

สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเกิดพฤติกรรมแย่งของเล่นเด็ก 

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจ “สาเหตุ” ของพฤติกรรมการหวงของเล่นของลูกน้อยกันก่อนดีกว่า ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ก็มีทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน โดยแต่ละข้อก็มีรายละเอียดดังนี้ 

  • เด็กอยากเล่นของเล่นชิ้นเดียวกัน แต่ขาดทักษะในเรื่องของการเล่นร่วมกับผู้อื่น 
  • เด็กขาดการแนะนำที่ถูกต้อง หรือผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการไม่ห้ามปรามในตอนที่เด็กแย่งของเล่นกับผู้อื่น จนทำให้เด็กรู้สึกว่า “พฤติกรรมของตัวเองไม่ผิด” 
  • เด็กต้องการแสดงความเป็นเจ้าของเมื่อมีเด็กคนอื่น ๆ เข้ามาหยิบของเล่นของตัวเอง แม้ว่าจะไม่อยากเล่นของเล่นชิ้นนั้นก็ตาม 

วิธีการแก้ปัญหา เพื่อลดพฤติกรรมการแย่งของเล่นเด็ก 

การแบ่งปันของเล่นให้กับเด็กคนอื่น ๆ แน่นอนว่าสุดท้ายก็ต้องจบลงด้วยการทะเลาะ แม้ว่าเพื่อนคนนั้น ๆ จะเพื่อนสนิทที่เล่นด้วยกันมานานก็ตาม ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดพฤติกรรมดังกล่าว พ่อแม่จะต้องเตรียมรับมือดังนี้ 

  • เตรียมลูกให้พร้อมกับการเล่นของเล่นเด็กร่วมกับผู้อื่น อาจจะเป็นการผลัดกันเล่นก็ได้ แต่จะต้องเป็นการสอนให้เด็กเกิดความสนุกสนานในระหว่างที่รอด้วย 
  • บอกกล่าวลูกล่วงหน้า ในกรณีที่มีแขกหรือเด็กคนอื่น ๆ เข้ามาในบ้าน เพราะลูกอาจจะเกิดความกังวลว่าเพื่อนจะทำให้ของเล่นเสียหาย ดังนั้นหากลูกรู้ตัวก่อนว่าจะมีคนมาเล่นของตัวเอง (ของเล่นอยู่ในสายตาตลอด) ก็จะทำให้ลูกยินยอมแบ่งปันของเล่นได้ง่ายขึ้น 
  • สอนลูกทันทีเมื่อพบว่ามีการแย่งของเล่นจากเพื่อน ด้วยการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม พร้อมย้ำเตือนอีกครั้งว่าควรจะแบ่งปันของเล่นให้กับผู้อื่น (พูดอย่างหนักแน่น) 

ซึ่งพฤติกรรมการแย่งของเล่นเด็ก นับเป็นปัญหาที่ยากเกินจะหลีกเลี่ยง แต่ก็ใช่ว่าจะรับมือไม่ได้เลย หากคุณต้องการให้ลูกน้อยรู้จักที่จะแบ่งปันของเล่น หรือของกินให้กับเด็กและผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ควรมีวิธีการรับมือที่เหมาะสม กล้าสอนอย่างตรงไปตรงมา และไม่มองข้ามพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ลูกไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่ตัวเองทำมันผิด จนทำให้พฤติกรรมดังกล่าวร้ายแรงจนแก้ไขไม่ทัน 

Tags: