ภาพยนตร์

ภาพยนตร์ไทยที่เล่าเรื่อง 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

0 Comments

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และการเมืองหลากหลายเหตุการณ์ที่ถูกหยิบยกหรือนำมาพูดถึงในวงกว้าง ก็มีหลายต่อหลายเหตุการณ์ แต่การจะเลือกหรือยกเอาเหตุการณ์นั้นๆ มาก็แสดงได้ว่าเหตุการณ์นั้นต้องมีความสำคัญในระดับหนึ่งต่อตัวผู้สร้างภาพยนตร์หรือต่อสังคมโดยรวมเลยทีเดียว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกหยิบยกและสำคัญทางการเมืองการปกครองไทยสมัยใหม่ที่เราจะยกมาพูดถึงวันนี้ ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 โดยในบทความนี้จะไม่กล่าวถึงว่าต้นสายปลายเหตุของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นั้นมาจากที่ใด หรือเพราะเหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา เพียงแต่จะนำเสนอว่ามีภาพยนตร์เรื่องใดบ้างที่เล่าถึงเหตุการณ์และจะเล่าถึงเหตุการณ์นี้ในมุมมองใด เรามาเริ่มกันที่ภาพยนตร์เรื่องแรกเลย ค่อนข้างจะตรงตัวและเป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เอง ได้แก่ คนล่าจันทร์ หรือในชื่อภาษาอังกฤษ คือ the moonhunter ซึ่งเป็นผลงานการเล่าเรื่องราวและกำกับของเสกสรรค์

ภาพยนตร์

ภาพยนตร์ไทยที่เล่าเรื่องฟองสบู่แตก หลังฟองสบู่แตกปี 40

0 Comments

จากภาพยนตร์เรื่อง “ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด” ที่เล่าเรื่องราวของยุคสมัยในเวลานั้นแล้ว เราลองมาดูภาพยนตร์ในยุคปัจจุบันที่เล่าย้อนความไปถึงเหตุการณ์หรือผลพวงที่ติดตามจากวิกฤตในตอนนั้นกันบ้าง อย่างภาพยนตร์เรื่อง “เพื่อนที่ระลึก” ซึ่งพึ่งสร้างและออกฉายสำเร็จในปี 2560 ที่พึ่งผ่านมา ตัวเรื่องได้มีการหยิบยกเอาตึกร้างย่านถนนเจริญกรุงมาเป็นสถานที่เกิดเหตุในเรื่อง ซึ่งตัวตึกร้างดังกล่าวก็เป็นผลพวงที่เกิดจากพิษเศรษฐกิจในช่วงฟองสบู่แตกเองเช่นกัน เส้นเรื่องที่มีความน่าสนใจและผูกโยงกับเรื่องผี วิญญาณและคำสัญญาได้หลอกหลอนเป็นเสมือนเงาตามตัวผู้คนในสังคม เฉกเช่นเดียวกับภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านล้านบาท ที่เป็นหนี้เสียที่เกิดจากพิษเศรษฐกิจก็อาจจะนับได้ว่าเป็นสิ่งที่หลอกหลอนความคิดและชีวิตผู้คนในสังคมไทยเช่นกัน นับเป็นภาพยนตร์ผีร้ายวิญญาณหลอนที่แทรกเรื่องเศรษฐกิจและสังคมให้ได้ขบคิดอย่างแนบเนียน ตัวเนื้อหาของเรื่องสมุมติอยู่บนฐานคิดของสองครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างดีในช่วงก่อนเกิดวิกฤตปี 2540 ทั้ง อิ๊บและบุ๋ม ที่ครอบครัวต้องพังไปพร้อมๆกัน เมื่อตึกคอนโดหรูที่พ่อของพวกเธอลงทุนร่วมกัน ถูกระงับการก่อสร้างจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง กลายเป็นคนมีหนี้สินหลายร้อยล้าน บ้านที่เคยอยู่มาทั้งชีวิตก็ถูกยึดสมบัติในบ้านถูกนำมาเปิดท้ายขายของในราคาถูก อิ๊บและบุ๋มรับมือกับความล่มสลายของครอบครัวไม่ไหว จึงตัดสินใจจะฆ่าตัวตายพร้อมกัน บน “ตึก” ที่เคยสัญญาว่าจะอยู่ด้วยกันตลอดไป แต่คนที่ตายกลับเป็นแค่       

ภาพยนตร์

ภาพยนตร์ไทยก่อนฟองสบู่แตก (1)

0 Comments

หากพูดถึงงวงการภาพยนตร์ไทยซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ยุคหนึ่งที่ภาพยนตร์ไทยรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีผลงานดีๆออกมาสู่สาธารณชนเป็นจำนวนมาก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นช่วงยุคก่อนฟองสบู่ในไทยแตก หรือก่อนปี 2540 เป็นต้นมา เนื่องด้วยการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีทางด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ การเข้ามาถึงของกล้องถ่ายทำที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น บวกกับภาวะทุนที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก เกิดการลงทุนในทุกๆภาคส่วนหลากหลายด้าน ซึ่งส่วนหนึ่งในนั้นคือการลงทุนในด้านภาพยนตร์หรือสื่อให้ความบันเทิงด้วย ส่งผลให้ทุนและเทคโลโนยีที่ก้าวขึ้นมาพร้อมๆกันในช่วงนี้เจริญเติบโตรุกหน้า ขยายขีดความสามารถในการผลิตสื่อและงานภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลให้ในยุคนนี้เกิดมรดกทางภาพยนตร์หลงเหลือเป็นหลักฐานของยุคสมัยจำนวนมากด้วยเช่นกัน  สิ่งหนึ่งที่จะสะท้อนความเฟื่องฟูดังกล่าวนั้นได้ ก็สะท้อนผ่านตัวภาพยนตร์ที่ถูกผลิตขึ้นในยุคนั้นๆ ในวันนี้เราจึงมานำเสนอภาพยนตร์ในยุคก่อนฟองสบู่แตกให้เห็นเป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้สะท้อนเป็นภาพไปยังสังคมในช่วงเวลานั้นว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้างกับสังคมไทยในยุคนั้นผ่านตัวภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ยกมานำเสนอในที่นี้คือเรื่อง ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด ซึ่งออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ.2536 นับจากตอนนั้นจนถึงตอนนี้ก็รวมๆ 20-25 ปีแล้วที่ภาพยนตร์เรื่องออกฉายในโรงภาพยนตร์ครั้งแรก เนื้อหาของภาพยนตร์ได้นำเสนอในแนวตลกร้าย เล่าถึงที่มาที่ไปของตัวละครอย่างมานพ มนุษย์ออฟฟิศที่ได้รับคำเตือนจากยมทูตผู้มาเยือนเขาถึงที่พักว่าเขากำลังจะตายภายในบ่าย 2 ของวันพรุ่งนี้ พอมานพทราบดังนั้น มานพและเพื่อนของเขาก็พยายามจะแก้ไขสิ่งต่างๆที่ตนไม่เคยคิดจะแก้ไขหรือคิดจะทำมาก่อน เช่น การออกเที่ยวกลางคืน